ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

James Bond

แบร์รี เนลสัน (พ.ศ. 2497)ฌอน คอนเนอรี (พ.ศ. 2505–2514 & 2526)เดวิด นิเวน (พ.ศ. 2510)จอร์จ เลเซนบี (พ.ศ. 2512)คริสโตเฟอร์ คาเซโนฟ (พ.ศ. 2516)โรเจอร์ มัวร์ (พ.ศ. 2516–2528)ทิโมธี ดาลตัน (พ.ศ. 2529–2536)เพียร์ซ บรอสแนน (พ.ศ. 2538–2545)

เจมส์ บอนด์ (อังกฤษ: James Bond) เป็นตัวละครสมมติ สร้างโดย เอียน เฟลมมิ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2496 ซึ่งปรากฏอยู่ในนวนิยาย 12 ตอนและรวมเรื่องสั้นอีก 2 เล่ม ต่อมาหลังจากเขาเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2507 มีนักประพันธ์อีกหลายคนได้สิทธิ์ในการประพันธ์ เจมส์ บอนด์ ต่อ ได้แก่ คิงส์ลีย์ เอมิส, คริสโตเฟอร์ วูด, จอห์น การ์ดเนอร์, เรย์มอนด์ เบ็นสัน, เซบาสเตียน ฟอล์ค, เจฟฟรีย์ ดีฟเวอร์ และ วิลเลียม บอยด์ นอกจากนี้ยังมีผลงานประพันธ์ของ ชาร์ลี ฮิกสัน ในชุด ยังบอนด์ และ เคต เวสต์บรูค ประพันธ์ในรูปแบบไดอารีของตัวละคร มิสมันนีเพนนี

เจมส์ บอนด์ ยังได้ถูกดัดแปลงออกมาเป็นสื่อต่างๆ เช่น ละครโทรทัศน์, ละครวิทยุ, การ์ตูน, วิดีโอเกมและภาพยนตร์ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากทั่วโลก โดยเป็นภาพยนตร์ชุดที่ทำเงินสูงสุดอันดับที่ 3 เริ่มจากเรื่อง พยัคฆ์ร้าย 007 (Dr.No) เมื่อปี พ.ศ. 2505 โดยมี ฌอน คอนเนอรี รับบท เจมส์ บอนด์ ปัจจุบันออกฉายแล้วทั้งหมด 24 ภาค ผลิตโดย อีโอเอ็น โปรดักชันส์ ภาคล่าสุด ชื่อว่า องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้าย (Spectre) แดเนียล เคร็ก เป็นเจมส์ บอนด์ ครั้งที่ 4 และเป็นคนที่ 6 ที่รับบทนี้

นอกจากนี้ยังมีภาพยนตร์ที่ไม่ใช่ของ อีโอเอ็น คือ ทีเด็ดเจมส์บอนด์ 007 (Casino Royale) เมื่อปี พ.ศ. 2510 เดวิด นิเวน เป็นเจมส์ บอนด์ และ พยัคฆ์เหนือพยัคฆ์ (Never Say Never Again) เมื่อปี พ.ศ. 2526 ซึ่งเป็นการรีเมค ธันเดอร์บอลล์ 007 (Thunderball) โดย ฌอน คอนเนอรี กลับมารับบทเป็นเจมส์ บอนด์ อีกครั้ง

ตัวเลข 007 ที่อยู่ท้ายชื่อของเจมส์ บอนด์ หมายถึงรหัสลับประจำตัวที่ใช้เรียกแทนตัวเขาในฐานะของสายลับคนหนึ่ง โดยเลข 00 ที่นำหน้าเลข 7 อยู่นั้น ถือเป็นสัญลักษณ์ที่แจ้งให้ทราบว่า ตัวเขาเป็นสายลับที่ได้รับอนุญาตให้สามารถสังหารชีวิตผู้อื่นได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งในประเด็นนี้ ได้มีนักวิเคราะห์บางคนแสดงทัศนะว่า เฟลมิ่งน่าจะได้รับแรงบันดาลใจมาจากสายลับชาวอังกฤษผู้หนึ่งในช่วงศตวรรษที่ 16 ที่ได้ส่งสารลับมาถึงสมเด็จพระบรมราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ด้วยรหัส 00 ซึ่งมีความหมายว่า "สำหรับพระเนตรของพระองค์เท่านั้น" (For Your Eyes Only)

เอียน เฟลมิ่ง สร้างตัวละครเจมส์ บอนด์ โดยกำหนดให้เป็น เจ้าหน้าที่หน่วยสืบราชการลับ หรือ สายลับ สังกัด หน่วยสืบราชการลับอังกฤษ (Secret Intelligence Service) หรือรู้จักในชื่อ MI6 (Military Intelligence, Section 6) โดยบอนด์มีรหัสลับคือ 007, มียศ นาวาโท สังกัดกองกำลังพลสำรอง กองทัพเรือ

ในขณะที่รับใช้อยู่กับฝ่ายข่าวกรองของกองทัพเรือนั้น เฟลมิ่ง วางแผนที่จะเป็นนักประพัทธ์ และได้บอกเพื่อนของเขาว่า "I am going to write the spy story to end all spy stories." เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 ได้เริ่มต้นประพันธ์นวนิยายเจมส์ บอนด์เล่มแรก ในชื่อ Casino Royale ที่ คฤหาสน์ โกลเดนอาย ที่จาไมกา ซึ่งเป็นที่ๆ เฟลมิ่งประพันธ์นวนิยายเจมส์ บอนด์ทั้งหมด, ระหว่างเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ของทุกปี หลังจากประพันธ์ได้ไม่นาน เฟลมิ่งได้แต่งงานกับ แอน ชาร์เตอร์ริส ทำให้ต้องใช้เวลาอยู่ครอบครัว

หลังจากพิมพ์ต้นฉบับของ Casino Royale เสร็จแล้ว, เฟลมิ่งได้ให้เพื่อนของเขา วิลเลียม โฟลเมอร์ อ่าน ซึ่งโฟลเมอร์ชอบมันและได้ส่งไปยังสำนักพิมพ์ โจนาธาน เคป แต่เคปก็ไม่ค่อยจะชอบมากเท่าไหร่ แต่สุดท้ายก็ได้ถูกตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2496 ซึ่งแนะนำโดย ปีเตอร์ เฟลมิ่ง, พี่ชายของเอียน เฟลมมิง ระหว่างปี พ.ศ. 2496 ถึง พ.ศ. 2509 และ 2 ปีหลังจากเสียชีวิต เฟลมมิงได้ประพันธ์นวนิยายทั้งหมด 12 เล่มและรวมเรื่องสั้นอีก 2 เล่ม ซึ่ง 2 เล่มสุดท้ายนั้นใช้ชื่อว่า The Man with the Golden Gun และ Octopussy and The Living Daylights – ซึ่งตีพิมพ์หลังเสียชีวิตแล้ว ทุกเล่มตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ โจนาธาน เคป

หลังเฟลมมิ่งเสียชีวิต คิงส์ลีย์ เอมิส ได้แต่งนวนิยายบอนด์ต่อ ในชื่อ Colonel Sun (ใช้นามปากกา โรเบิร์ต มาร์คแฮม) และตีพิมพ์ในปีพ.ศ. 2511 ซึ่งก่อนหน้าเขาเคยเขียนหนังสือเกี่ยวกับนวนิยายบอนด์ของเฟลมมิ่งด้วย ในชื่อ The James Bond Dossier เมื่อปีพ.ศ. 2508 ต่อมานิยาย 2 เล่มจากภาพยนตร์ของอีโอเอ็น โปรดักชันส์ได้ตีพิมพ์ ในชื่อ James Bond, The Spy Who Loved Me และ James Bond and Moonraker โดยทั้งสองเล่มแต่งโดย คริสโตเฟอร์ วูด ซึ่งเป็นผู้เขียนบทภาพยนตร์ หลังจากนั้นนิยายบอนด์ก็หยุดไป จนถึงปีพ.ศ. 2524 นักเขียนแนวสยองขวัญ จอห์น การ์ดเนอร์ ได้หยิบนวนิยายบอนด์ มาแต่งในชื่อ Licence Renewed. โดย์ดเนอร์ได้แต่งนวนิยายบอนด์ทั้งหมด 16 เล่ม โดยมี 2 เล่มเป็นนิยายจากภาพยนตร์ของอีโอเอ็น โปรดักชันส์ชื่อ Licence to Kill และ GoldenEye ถึงแม้ว่าผ่านไป 13 ปี การ์ดเนอร์ ยังคงให้ตัวละครยังอายุเท่าเดิมกับที่เฟลมมิ่งระบุเอาไว้ ในปี พ.ศ. 2539 การ์ดเนอร์ได้หยุดแต่งนวนิยายบอนด์ เนื่องจากปัญหาสุขภาพ

ในปี พ.ศ. 2539 นักเขียนชาวอเมริกัน เรย์มอนด์ เบ็นสัน กลายเป็นนักเขียนนวนิยายบอนด์ ซึ่งก่อนหน้านี้เขาเคยเขียนหนังสือ The James Bond Bedside Companion, ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2527 จนถึงปี พ.ศ. 2545 ก็หยุดเขียน โดยเบ็นสันเขียนนวนิยายบอนด์ทั้งหมด 6 เล่ม, นิยายอีก 3 เล่มและเรื่องสั้นอีก 3 เรื่อง

6 ปีผ่านไป เซบาสเตียน ฟอล์ค ได้รับมอบหมายจากสำนักพิมพ์เอียน เฟลมมิ่ง ให้แต่งนวนิยายบอนด์ใหม่ โดยได้วางจำหน่ายวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ในวาระครบรอบ 100 ปีเอียน เฟลมิ่ง ในชื่อ Devil May Care ซึ่งตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ แพนกวินบุค ในสหราชอาณาจักร และสำนักพิมพ์ ดับเบิลเดย์ ในสหรัฐอเมริกา ต่อมา นักเขียนชาวอเมริกัน เจฟฟรีย์ ดีฟเวอร์ ได้รับมอบหมายจากสำนักพิมพ์เอียน เฟลมมิง ให้แต่งนวนิยายบอนด์ในชื่อ พลิกแผนเพชฌฆาต (Carte Blanche) โดยได้วางจำหน่ายวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งเป็นรีบูทนวนิยายบอนด์ใหม่ เป็นสายลับหลังเหตุการณ์ 9/11 โดยบอนด์จะไม่สังกัด MI5 หรือ MI6 เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556 นวนิยายชื่อ โซโล แต่ง วิลเลียม บอยด์ โดยดำเนินเหตุการณ์อยู่ในปี พ.ศ. 2512

พยัคฆ์ร้ายวัยทีน (Young Bond) เป็นนิยายชุด แต่งโดย ชาร์ลี ฮิกสัน โดยวางจำหน่ายระหว่างปี พ.ศ. 2548 ถึง พ.ศ. 2552 รวมทั้งหมด 5 เล่มและเรื่องสั้น 1 เรื่อง โดยเล่มแรกมีชื่อว่า แผนลับพันธุ์พิฆาต (SilverFin) ซึ่งต่อมาได้ดัดแปลงเป็นนิยายภาพและวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2551 โดยสำนักพิมพ์ พัฟฟิน บุ๊ค สำหรับประเทศไทยลิขสิทธิ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ และแปลโดยเอื้อนทิพย์ พีระเสถียร

เดอะ มันนีเพนนี ไดอารีส์ (The Moneypenny Diaries) เป็นนิยายไตรภาค เกี่ยวกับชีวิตของ มิสมันนีเพนนี, เลขานุการส่วนตัวของเอ็ม, เขียนโดย ซาแมนธา เวนเบิร์ก ภายใต้นามปากกา เคต เวสต์บรูค เล่มแรกใช้ชื่อว่า Guardian Angel, วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ที่สหราชอาณาจักร เล่มที่สองใช้ชื่อว่า Secret Servant วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 โดยสำนักพิมพ์ จอห์น เมอร์เรย์ และเล่มที่สามใช้ชื่อว่า Final Fling วางจำหน่ายเมื่อ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

เนื้อเรื่องจากวรรณกรรมชิ้นนี้ ได้มีผู้ที่นำไปสร้างและดัดแปลงเป็นบทภาพยนตร์ และสื่อบันเทิงชนิดต่าง ๆ มากมาย

จนถึงตอนนี้ (พ.ศ. 2555) เจมส์ บอนด์ ได้ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ไปแล้ว 23 เรื่อง สร้างเป็นภาพยนตร์อิสระอีก 2 เรื่อง และนำมาดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์ของอเมริกาอีก 1 เรื่อง

ในบรรดาผลงานเหล่านี้ทั้งหมด งานที่ผลิตโดยอีโอเอ็น โปรดักชัน ถือได้ว่ามีความเป็น “ทางการ” มากที่สุด โดยโปรดิวเซอร์ผู้ที่ฝากผลงานไว้มากที่สุดได้แก่ อัลเบิร์ต อาร์ “คับบี” บรอคโคลี และแฮรรี ซอลท์ซ์แมน ทั้งคู่ทำหน้าที่นี้จนถึงปีพ.ศ. 2518 พอมาถึงปีพ.ศ. 2538 (อีก 20 ปีต่อมา) บาร์บารา บรอคโคลี และไมเคิล จี วิลสัน บุตรสาวและบุตรชายบุญธรรมของอัลเบิร์ต อาร์ บรอคโคลี ได้มาร่วมกันสืบทอดหน้าที่นี้แทน

ช่วงแรก ลิขสิทธิ์ เป็นของบริษัทของบรอคโคลีกับซอลท์ซ์แมนที่ชื่อ Danjaq โดยถือสิทธิ์ความเป็นเจ้าของดังกล่าวผ่านทางอีโอเอ็น แต่ต่อมาเมื่อซอลท์ซ์แมนขายหุ้นในบริษัท Danjaq ของตนให้กับยูไนเต็ด อาร์ตติสทส์ ไปในช่วงกลางทศวรรษที่ 70 สิทธิ์ความเป็นเจ้าของถูกแบ่งให้กับยูไนเต็ด อาร์ตติสทส์ ด้วยส่วนหนึ่ง

ปัจจุบันนี้ ลิขสิทธิ์จัดจำหน่ายภาพยนตร์ชุดนี้ได้เปลี่ยนมือมาเป็นของโคลัมเบีย พิคเจอร์ กับเมโทร-โกล์ดเวน-เมเยอร์ (บริษัทแม่ของยูไนเต็ด อาร์ตติสทส์) แล้ว

นักแสดงที่มารับบทบาทเป็นเจมส์ บอนด์ ในภาพยนตร์ชุดที่ผลิตโดยอีโอเอ็น เมื่อนับจากเรื่องแรกจนถึงปัจจุบัน ก็มีทั้งหมด 6 คนด้วยกัน ได้แก่

นอกจากนี้ ก็ยังมีนักแสดงท่านอื่น ๆ อีกที่มารับบทบาทเป็นเจมส์ บอนด์ ในผลงานที่ไม่ได้ผลิตโดยอีโอเอ็น ซึ่งได้แก่

ส่วนภาพยนตร์ชุดเจมส์ บอนด์ (ของอีโอเอ็น) เรื่องที่ 21 นั้น มีชื่อว่า Casino Royale หรือในชื่อไทย 007 พยัคฆ์ร้ายเดิมพันระห่ำโลก ผู้ที่แสดงเป็นเจมส์ บอนด์ ในเรื่องนี้คือ ดาเนียล เคร็ก ได้มีการจัดฉายรอบปฐมทัศน์ไปในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ซึ่งในทวีปเอเชียและตะวันออกกลางจะเริ่มฉายถัดจากวันนั้นไปหนึ่งวัน ส่วนในประเทศไทยนั้น ได้เริ่มฉายวันแรกในวันที่ 16 พฤศจิกายนของปีเดียวกัน

นอกจากวรรณกรรมและภาพยนตร์ ยังเป็นวิดีโอเกม หนังสือการ์ตูน การ์ตูน ที่นำเสนอเป็นตอนในหนังสือพิมพ์ และถูกนำมาล้อเลียนในสื่อประเภทต่าง ๆ อีกด้วย

ภาพยนตร์ชุดเจมส์ บอนด์ เคยเข้ามาถ่ายทำในประเทศไทย 2 ครั้ง ตอน 007 เพชฌฆาตปืนทอง (The Man with the Golden Gun) ที่ เกาะพีพีเลและเกาะตะปูในจังหวัดพังงา ซึ่งหลังจากที่ภาพยนตร์ชุดนี้ออกฉาย ทำให้สถานที่แห่งนี้มีชื่อเสียงโด่งดัง จนมักเรียกว่า "เกาะเจมส์ บอนด์" (James Bond Island) และครั้งต่อมา คือ ตอน 007 พยัคฆ์ร้ายไม่มีวันตาย (Tomorrow Never Dies) ถ่ายทำที่ตึกสินสาธร ย่านธนบุรี ฉากแอคชันที่บอนด์กับนางเอกต้องกระโดดลงมาจากยอดตึก นักแสดงแทนตัวเอกฝ่ายหญิงนั้น เป็นนักศึกษาสาวชาวไทยเอง

ในราวปี พ.ศ. 2534 "รายการท็อปเท็น" ทางช่อง 9 เคยนำเสนอซีรีส์สั้น ๆ เกี่ยวกับเจมส์ บอนด์ โดยนักแสดงชาวไทยที่รับบทเจมส์ บอนด์ คือ ธานินทร์ ทัพมงคล

ในปี พ.ศ. 2545 นิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำเอานวนิยายชุดเจมส์ บอนด์ มาดัดแปลงเป็นละคอนถาปัด ซึ่งเป็นกิจกรรมละครเวทีประจำปีของนิสิต และใช้ชื่อว่า "พยัคฆ์(ลอง)ร้าย 007" โดยเล่าเรื่องภารกิจครั้งแรกของ เจมส์ บอนด์ ครั้งยังเป็นสายลับหนุ่มฝึกหัดของหน่วยสืบราชการลับอังกฤษ โดยมีตัวละครจากซีรีส์ภาพยนตร์ชุด เจมส์ บอนด์ ภาคต่างๆปรากฏในท้องเรื่องหลายตัวละคร เช่น เอ็ม, มันนีเพ็นนี, คิว, เฟลิกซ์ ไลเทอร์, ดร.โน, อูริค โกลด์ฟิงเกอร์ และ เอิร์นส์ สตาฟโร โบลเฟลด์ แสดงที่ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 10 รอบ ระหว่างวันที่ 17-19 และ 24-26 พฤษภาคม 2545

อนึ่ง ในปี พ.ศ. 2533 มีหนังทีวีเรื่องยาว (TV Movie) ทางไทยทีวีสีช่อง 3 ชื่อ SPYMAKER:The Secret Life of Ian Fleming ประวัติการผจญภัยของเฟลมมิ่งในช่วงหนุ่มน้อยสายลับฝึกหัดที่มีอิทธิพลเขียนนิยายชุดเจมส์ บอนด์ ในเวลาต่อมา นำแสดงโดย เจสัน คอนเนอรี่ (Jason Connery) บุตรของ ณอน คอนเนอรี่ (ทั้งคู่เคยแสดงร่วมกันใน Robin and Marian เมื่อ พ.ศ. 2519)

ภาพยนตร์ชุดเจมส์ บอนด์ ทั้ง 24 เรื่องนี้ เป็นผลงานการผลิตโดยอีโอเอ็น โปรดักชั่น และเป็นซีรีส์ที่ประสบความสำเร็จเป็นอันดับที่ 3 ในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ รองจาก แฮร์รี่ พอตเตอร์ และ จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล

ในปีพ.ศ. 2510 ทีเด็ดเจมส์บอนด์ 007 (Casino Royale) ได้ดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ตลก ผู้แสดงเป็น เซอร์ เจมส์ บอนด์ คือ เดวิด นิเวน และเออร์ซูลา แอนเดรส รับบทเป็น เวสเปอร์ ลินด์ (เดวิด นิเวน เคยเป็นตัวเลือกแรกของเอียน เฟลมิ่ง เพื่อรับบทเจมส์ บอนด์ใน พยัคฆ์ร้าย 007 ของ อีโอเอ็น โปรดักชันส์ด้วย) ในปีพ.ศ. 2506 จากการตัดสินในชั้นศาลในลอนดอน อนุญาตให้ เควิน แม็คคลอรี สร้างฉบับรีเมคของ ธันเดอร์บอลล์ 007 (Thunderball) ในชื่อ พยัคฆ์เหนือพยัคฆ์ (Never Say Never Again) ซึ่งออกฉายในปีพ.ศ. 2526 โดยมีฌอน คอนเนอรี รับบทเป็นเจมส์ บอนด์ ในปีพ.ศ. 2540 โซนีคอร์โปเรชันได้ซื้อลิขสิทธิ์จากแม็คคลอรี ซึ่งไม่เปิดเผยราคา ซึ่งต่อมาก็ยกให้ MGM, โดยเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 MGM ได้ประกาศว่าทางบริษัทได้สิทธิ์ในการจำหน่ายภาพยนตร์ พยัคฆ์เหนือพยัคฆ์ จากบริษัท ทาเลียฟิล์ม ของ Schwartzman ปัจจุบัน บริษัทอีโอเอ็น เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ในการดัดแปลง นวนิยายบอนด์ของเอียน เฟลมิ่งทั้งหมด แต่เพียงผู้เดียว


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406